สร้างตาราง HTML และ CSS
วิธีการสร้างตาราง html และ css เบื้องต้น สำหรับมือใหม่
HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยใช้ tag ในการควบคุมการแสดงผลของเว็บเพจ การทำเว็บเพจ ด้วย HTML จะต้องอาศัยโปรแกรม Text Editor ต่าง ๆ เช่น Notepad, Brackets, Sublime Text, Visual Studio Code เป็นต้น
<!DOCTYPE html>
<html lang="en">
<head>
<meta charset="UTF-8">
<title>ชื่อเรื่องบทความ</title>
<meta name="description" content="อธิบายบทความ">
<meta name="keywords" content="คีย์เวิร์ดของบทคความขั้นด้วยเครื่องหมาย คอมม่า">
</head>
<body>
ส่วนเนื้อหาของบทความ
</body>
</html>
แต่การเขียนเว็บด้วย HTML เพียงลำพัง จะไม่สามารถทำให้ เว็บเพจออกมาดูสวยงามได้ จะต้องมี CSS เข้ามาช่วย เพื่อให้เว็บเพจ มีหน้าตาที่สวยงามขึ้น
CSS ย่อมาจาก Cascading Style Sheet เป็นภาษาที่ใช้ในการตกแต่งเว็บช่วยให้ HTML/XHTML มีรูปแบบหน้าตาที่สวยงามขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สี ตัวอักษร พื้นหลัง ระยะห่าง เส้นของ และอื่นๆ
เป็นการเขียน CSS เข้าไปในแท็ก HTML โดยใช้ style attribute
ข้อดี : ง่ายและสะดวกในการทำงาน เพราะเขียนลงไปใน Tag ได้เลย
ข้อเสีย : โค๊ดไม่ระเบียบ ดูรกไม่สวยงาม, ทำให้ไฟล์ html มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น และ ในกรณีที่ต้องการแก้ css ตรงจุดนั้น จะต้องตามไปแก้ทุกไฟล์ ไม่สามารถ rewrite CSS ได้
<p style ="color:#ffffff">ตัวหนังสือ</p>
เป็นการเขียน CSS เข้าไปในไฟล์ HTML โดยจะแทรกอยู่ในแท็ก <head> ในไฟล์ HTML นั้นและมีแท็ก <style>…</style> ครอบอยู่
ข้อดี : ง่าย และสามารถครอบคลุมได้ทั้งหน้าเพจนั้นๆ
ข้อเสีย : ไม่สามารถนำ css นี้ไปใช้กับหน้าอื่น ๆ ได้ง่าย เหมาะกับการแก้เฉพาะหน้าเท่านั้น
<!DOCTYPE html>
<html lang="en">
<head>
<meta charset="UTF-8">
<title>ชื่อเรื่องบทความ</title>
<meta name="description" content="อธิบายบทความ">
<meta name="keywords" content="คีย์เวิร์ดของบทคความคั้นด้วยเครื่องหมาย คอมม่า">
<style>
body{
background: #f2f2f2;
padding: 10px;
margin: 10px;
}
p{color: #ff0000;
}
</style>
</head>
<body>
<p>ส่วนเนื้อหาของบทความ</p>
</body>
</html>
เป็นการเขียนโดยใช้ไฟล์ CSS แยกออกมาต่างหาก และใช้ Tag <link rel=”stylesheet” href=”xxx.css” type=”text/css”/> ในการเรียกไฟล์มาใช้งาน โดยไฟล์ CSS จะมีนามสกุลเป็น .css เช่น style.css, default.css
ข้อดี : สามารถนำไฟล์ไปใช้ได้กับ หน้าอื่น ๆ ได้ทั้งเว็บ / สะดวกในการแก้ไข css ที่ไฟล์เดียว
ข้อเสีย : จะมีปัญหาเรื่อง path link ผิด ที่จะต้องระวัง
<!DOCTYPE html>
<html lang="en">
<head>
<meta charset="UTF-8">
<title>ชื่อเรื่องบทความ</title>
<meta name="description" content="อธิบายบทความ">
<meta name="keywords" content="คีย์เวิร์ดของบทคความคั้นด้วยเครื่องหมาย คอมม่า">
<link rel="stylesheet" href="style.css" type="text/css">
</head>
<body>
<p>ส่วนเนื้อหาของบทความ</p>
</body>
</html>
โครงสร้างพื้นฐาน HTML และ CSS เป็นพื้นฐานการเริ่มต้นเขียนเว็บไซต์ html เปรียบเสมือนการสร้างโครงบ้าน เสาบ้าน พนังบ้าน ส่วน css เปรียบเสมือนการตกแต่งภายใน ทั้งสีสัน การจัดวาง เพื่อให้ได้บ้านที่สวยงาม
วิธีการสร้างตาราง html และ css เบื้องต้น สำหรับมือใหม่
Inspect Element เป็นเครื่องมือที่คนทำเว็บไซต์ทุกคนควรรู้จักกัน เพราะมีโปรโยชน์อย่างมากช่วยประหยัดเวลาในการปรับแก้โค๊ด html/css